วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

คำสั่ง ROTATE

เป็นคำสั่งให้วัตถุหมุนไปในทิศทางที่ต้องการ





Command : _rotate


Select object : (เลือกวัตถุที่ต้องการให้หมุน)
Select object : (เลือกวัตถุต่อไป หรือกด Enter เพื่อออกจากการเลือกวัตถุ)
Base point : (กำหนดจุดอ้างอิงในการหมุน)

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

การทำ ARRAY แบบวงกลม (Polar)

เป็นการทำซ้ำวัตถุในลักษณะที่วัตถุที่เกิดขึ้นใหม่จะเรียงเป็นรูปวงกลมโดยกำหนดจำนวนวัตถุที่

ต้องการจะทำสำเนาได้


Command : _select


Select objects : (เลือกวัตถุต้นฉบับที่ต้องการ โดยใช้เมาส์คลิ๊ก หรือลาก Window ครอบ)
Select objects : (เลือกวัตถุต้นฉบับที่ต้องการ หรือกด Enter เพื่อออกจากการเลือกวัตถุ)
Rectangular or Polar array (R/P) <P> : _p
Center point of array : (เลือกจุดศูนย์กลางของการคัดลอก)
Number of items : (จำนวนที่ต้องการคัดลอก ให้นับรวมต้นฉบับด้วย)
Angle to fill (+ = ccw, - = cw) <360> : (กำหนดองศาที่ต้องการคัดลอก ถ้าเป็น + จะคัดลอกแบบทวนเข็ม ถ้าเป็น - จะคัดลอกแบบตามเข็ม)
Rotate objects as they are copied? <Y> : (กำหนดให้วัตถุที่คัดลอกไปแล้วหันเข้าหาจุดศูนย์กลางหรือไม่ ถ้าต้องการให้ตอบ Y ถ้าไม่ต้องการให้ตอบ N)

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

คำสั่ง ARRAY

การใช้คำสั่ง ARRAY เป็นการทำซ้ำหรือคัดลอกวัตถุในรูปของกลุ่มวัตถุ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ

การทำ ARRAY แบบสี่เหลี่ยม และการทำ ARRAY แบบวงกลม ดังนี้การทำ ARRAY แบบสี่เหลี่ยม (Rectangle)


เป็นการทำซ้ำวัตถุในลักษณะที่วัตถุที่เกิดขึ้นใหม่จะเรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมโดยกำหนดจำนวน

แถว (Row) และจำนวนคอลัมส์ (Column) และยังสามารถกำหนดระยะห่างระหว่างแถวและคอลัมส์ได้

Command : _select

Select objects : (เลือกวัตถุต้นฉบับที่ต้องการ โดยใช้เมาส์คลิ๊ก หรือลาก Window ครอบ)
Select objects : (เลือกวัตถุต้นฉบับที่ต้องการ หรือกด Enter เพื่อออกจากการเลือกวัตถุ)
Rectangular or Polar array (R/P) <R> : _r
Number of rows (---) <1> : (ใส่จำนวนแถวที่ต้องการทำซ้ำโดยนับรวมแถวต้นฉบับด้วย)
Number of columns () <1> : (ใส่จำนวนคอลัมส์ที่ต้องการทำซ้ำโดยนับคอลัมส์ต้นฉบับด้วย)
Unit cell or distance between rows (---) : (ใส่ระยะห่างระหว่างแถว ถ้าเป็น + แถวจะขึ้นด้านบนแต่ถ้าเป็น – แถวจะลงด้านล่าง)Distance between columns () : (ใส่ระยะทางห่างระหว่างคอลัมส์ ถ้าเป็น + คอลัมส์จะไปด้านขวา แต่ถ้าเป็น – คอลัมส์จะไปด้านซ้าย)

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

คำสั่ง MIRROR

เป็นการคัดลอกวัตถุอีกแบบหนึ่ง โดยวัตถุที่ได้จะมีลักษณะเหมือนกับเงาในกระจก





Command : _mirror

Select Object : (เลือกวัตถุต้นฉบับที่ต้องการ โดยใช้เมาส์คลิ๊ก หรือลาก Window ครอบ)
Select Object : (เลือกวัตถุที่ต้องการต่อหรือกด Enter เพื่อออกจากการเลือกวัตถุ)
First point of mirror line : (กำหนดจุดเริ่มต้นของแนว Mirror Line)
Second point : (กำหนดจุดสิ้นสุดของแนว Mirror Line)
Delete old object ? <N> : (ต้องการลบวัตถุต้นฉบับหรือไม่ ให้ตอบ Y (Yes) หรือ N (No) )

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

คำสั่ง STRETCH

เป็นคำสั่งสำหรับการยืดวัตถุในทิศทางหนึ่ง ขณะที่ขนาดของวัตถุในอีกทิศทางหนึ่งไม่

เปลี่ยนแปลง





Command : _stretch


Select object to stretch by crossing-windows or –polygon…
Select object : (ลาก Window ครอบวัตถุที่ต้องการยืดและเลือกวัตถุที่เกี่ยวข้องกับการยืดให้Active)
Select object : (เลือกวัตถุ หรือกด Enter เพื่อออกจากการเลือก)
Base point : (กำหนดจุดอ้างอิงในการยืด)
Second point of displacement : (กำหนดจุดที่ต้องการให้วัตถุยืดไป)

คำสั่ง MOVE

คำสั่ง MOVE เป็นคำสั่งสำหรับการเคลื่อนย้ายวัตถุจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง แสดงดังรูป



การใช้คำสั่งจาก Toolbar

Commmand : _move

Select Object : (เลือกวัตถุที่ต้องการเคลื่อนย้าย โดยใช้เมาส์คลิ๊ก หรือลาก Window ครอบ)
Select Object : (เลือกวัตถุที่ต้องการต่อหรือกด Enter เพื่อออกจากการเลือกวัตถุ)
Base point or displacement : (กำหนดพิกัดอ้างอิง (X, Y) หรือใช้เมาส์คลิ๊ก)
Second point of displacement : (กำหนดพิกัดที่ต้องการให้วัตถุ Move ไป)

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

การเขียนเส้น MULTILINE

การเขียนเส้น Multiline จะเป็นการเขียนเส้นที่มีลักษณะ 2 เส้น สามารถกำหนดความกว้างของเส้นได้โดยการกำหนด Scale และคำสั่ง FILL จะไม่มีผลกับการเขียนเส้นด้วยคำสั่งนี้ สำหรับก็คล้าย ๆกับการเขียน LINE

การเขียนจุด (POINT)

ถ้าต้องการเขียนจุดในลักษณะต่าง ๆ ลงในแบบงาน สามารถทำได้โดยการใช้คำสั่ง POINT ดังนี้10.1 การใช้คำสั่งจาก Pull down menu และ Toolbar เลือกคำสั่ง Draw - Point - Single Point ที่ Command Line จะปรากฎดังนี้Command : _point Point : (กำหนดพิกัด หรือคลิ๊ก หรือกด ESC เพื่อออกจากคำสั่ง)การใช้คำสั่งจาก Command Lineให้พิมพ์ดังนี้Command : พิมพ์ Point : (กำหนดพิกัด หรือคลิ๊ก และ AutoCAD จะออกจากคำสั่ง Point โดยอัตโนมัติ )เราสามารถตั้งค่าเกี่ยวกับ Point ได้ โดยเลือกจาก Pull Down Menu ดังนี้Format - Point Style…หลังจากนั้นจะปรากฎ Dialog Box ดังรูป


- ถ้าเลือกที่ Set Size Relative to Screen หมายถึง ให้ขนาดของ Point มีขนาดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ตั้งใน Point Size โดยเป็นอัตราส่วนกับขนาดของหน้าจอ สมมติว่ามีการตั้งไว้ 5 แสดงว่าขนาดของ Pointจะมีขนาด 5 % ของ Drawing Area

 - ถ้าเลือกที่ Set Size in Absolute Units หมายถึง ให้ขนาดของ Point มีขนาดที่แน่นอนตามที่ตั้งใน Point Size สมมติว่าตั้งไว้ 5 แสดงว่าขนาดของ Point จะมีขนาด 5 หน่วย คงที่


วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การสร้างวัตถุด้วยความแม่นยำ(Object Snap and Running Object Snap)

ในการสร้างวัตถุใน AutoCAD บางครั้งอาจจะประสบปัญหา เช่น ต้องการเขียนเส้นจากจุด

ศูนย์กลางของวงกลม ซึ่งแทบจะเป็นไม่ได้เลยว่าผู้เขียนเส้นจะสามารถเขียนให้เริ่มจากจุดศูนย์กลางของวงกลมได้โดยการใช้สายตาเล็ง นี่คือตัวอย่างในหลาย ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นในการเขียนวัตถุใน AutoCADเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการใช้คำสั่ง Object Snap ซึ่งมีให้เลือกหลายตัวเลือก นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว การใช้ Object Snap ยังจะช่วยให้การเขียนแบบรวดเร็วขึ้นด้วย ในการเรียกใช้
Object Snap สามารถเรียกใช้ได้จากหลายลักษณะดังนี้
1. แถบเครื่องมือ (Toolbar)
2. การกด Shift ค้าง และคลิ๊กเมาส์ปุ่มขวา (Shift + Mouse Enter)
3. Command Line



Running Object Snap

 เราสามารถตั้งให้มีการใช้ Object Snap อย่างถาวรได้ โดยไม่ต้องเรียกคำสั่งดังที่ผ่านมา สามารถทำได้โดยการพิมพ์ที่ Command Line ว่า DDOSNAP จะเกิด Dialog Box ดังนี้


หลังจากนั้นให้เลือก Object Snap ที่ต้องการโดยใช้ Mouse คลิ๊กในสี่เหลี่ยมให้เกิดเครื่องหมายถูก / ( ) และถ้าต้องการปรับขนาดของเป้า สามารถทำได้โดย การเลื่อน Scroll Bar ที่ Aperture Size

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

การสร้างวัตถุที่มีความทึบ (SOLID)



การใช้คำสั่ง SOLID

ในบางครั้งเราต้องการเขียนวัตถุที่มีความทึบเราสามารถใช้คำสั่ง SOLID ในการเขียนได้ให้พิมพ์
ทาง Command Line ดังนี้

Command : พิมพ์ SOLID
Command : _solid First point : (ป้อนพิกัดแรกของ Solid หรือคลิ๊ก)
Second point : (ป้อนพิกัดที่สองของ Solid หรือคลิ๊ก)
Third point : (ป้อนพิกัดที่สามของ Solid หรือคลิ๊ก)
Fourth point : (ป้อนพิกัดที่สี่ของ Solid หรือคลี๊ก หรือกด Enter เพื่อออกจากคำสั่ง)

การควบคุมให้รูปที่ได้จาก SOLID มีลักษณะโปร่งหรือทึบสามารถควบคุมได้โดยใช้คำสั่ง FILL โดยการใช้คำสั่งดังนี้
การใช้คำสั่งจาก Pull Down Menu ให้เลือกคำสั่งดังนี้
Tools 􀃖 Drawing Aidsการคลิ๊กจะทำให้เครื่องหมาย / 􀀹หน้าคำว่า Solid Fill หายไป หลังจากนั้นให้พิมพ์ REGEN ที่Command Line เพื่อให้ AutoCAD ทำการคำนวณภาพใหม่ เป็นผลให้รูปที่ทึบจะโปร่งแทน ถ้าต้องการให้Solid ทึบอีกครั้งก็ทำเช่นเดียวกับลำดับขั้นที่ผ่านมา โดยถ้ามีเครื่องหมาย / 􀀹หน้าคำว่า Solid Fill และใช้คำสั่ง REGEN จะทำให้ Solid ที่เราเคยเขียนไว้เป็นรูปทึบ

การรีเจน (Regen)

ในการแสดงผลรูปภาพที่วาดใน AutoCAD มักจะเป็นการแสดงผลที่ต้องการความรวดเร็วดังนั้น

ภาพที่แสดงผลบางภาพอาจจะมีลักษณะที่ไม่ค่อยละเอียดมากนักตัวอย่างเช่น รูปวงกลมเมื่อเราใช้คำสั่ง Zoom เมื่อ Zoom ไปแล้วจะเห็นเส้นโค้งเป็นเหลี่ยม ๆ ไม่ละเอียดเท่าที่ควร เราสามารถใช้คำสั่ง REGEN เพื่อให้ AutoCAD ทำการคำนวณภาพและแสดงผลใหม่จะทำให้ภาพนั้นละเอียดยิ่งขึ้น เราสามารถใช้ คำสั่ง REGEN ทาง Command Line ดังนี้