วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

คำสั่ง ROTATE

เป็นคำสั่งให้วัตถุหมุนไปในทิศทางที่ต้องการ





Command : _rotate


Select object : (เลือกวัตถุที่ต้องการให้หมุน)
Select object : (เลือกวัตถุต่อไป หรือกด Enter เพื่อออกจากการเลือกวัตถุ)
Base point : (กำหนดจุดอ้างอิงในการหมุน)

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

การทำ ARRAY แบบวงกลม (Polar)

เป็นการทำซ้ำวัตถุในลักษณะที่วัตถุที่เกิดขึ้นใหม่จะเรียงเป็นรูปวงกลมโดยกำหนดจำนวนวัตถุที่

ต้องการจะทำสำเนาได้


Command : _select


Select objects : (เลือกวัตถุต้นฉบับที่ต้องการ โดยใช้เมาส์คลิ๊ก หรือลาก Window ครอบ)
Select objects : (เลือกวัตถุต้นฉบับที่ต้องการ หรือกด Enter เพื่อออกจากการเลือกวัตถุ)
Rectangular or Polar array (R/P) <P> : _p
Center point of array : (เลือกจุดศูนย์กลางของการคัดลอก)
Number of items : (จำนวนที่ต้องการคัดลอก ให้นับรวมต้นฉบับด้วย)
Angle to fill (+ = ccw, - = cw) <360> : (กำหนดองศาที่ต้องการคัดลอก ถ้าเป็น + จะคัดลอกแบบทวนเข็ม ถ้าเป็น - จะคัดลอกแบบตามเข็ม)
Rotate objects as they are copied? <Y> : (กำหนดให้วัตถุที่คัดลอกไปแล้วหันเข้าหาจุดศูนย์กลางหรือไม่ ถ้าต้องการให้ตอบ Y ถ้าไม่ต้องการให้ตอบ N)

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

คำสั่ง ARRAY

การใช้คำสั่ง ARRAY เป็นการทำซ้ำหรือคัดลอกวัตถุในรูปของกลุ่มวัตถุ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ

การทำ ARRAY แบบสี่เหลี่ยม และการทำ ARRAY แบบวงกลม ดังนี้การทำ ARRAY แบบสี่เหลี่ยม (Rectangle)


เป็นการทำซ้ำวัตถุในลักษณะที่วัตถุที่เกิดขึ้นใหม่จะเรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมโดยกำหนดจำนวน

แถว (Row) และจำนวนคอลัมส์ (Column) และยังสามารถกำหนดระยะห่างระหว่างแถวและคอลัมส์ได้

Command : _select

Select objects : (เลือกวัตถุต้นฉบับที่ต้องการ โดยใช้เมาส์คลิ๊ก หรือลาก Window ครอบ)
Select objects : (เลือกวัตถุต้นฉบับที่ต้องการ หรือกด Enter เพื่อออกจากการเลือกวัตถุ)
Rectangular or Polar array (R/P) <R> : _r
Number of rows (---) <1> : (ใส่จำนวนแถวที่ต้องการทำซ้ำโดยนับรวมแถวต้นฉบับด้วย)
Number of columns () <1> : (ใส่จำนวนคอลัมส์ที่ต้องการทำซ้ำโดยนับคอลัมส์ต้นฉบับด้วย)
Unit cell or distance between rows (---) : (ใส่ระยะห่างระหว่างแถว ถ้าเป็น + แถวจะขึ้นด้านบนแต่ถ้าเป็น – แถวจะลงด้านล่าง)Distance between columns () : (ใส่ระยะทางห่างระหว่างคอลัมส์ ถ้าเป็น + คอลัมส์จะไปด้านขวา แต่ถ้าเป็น – คอลัมส์จะไปด้านซ้าย)

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

คำสั่ง MIRROR

เป็นการคัดลอกวัตถุอีกแบบหนึ่ง โดยวัตถุที่ได้จะมีลักษณะเหมือนกับเงาในกระจก





Command : _mirror

Select Object : (เลือกวัตถุต้นฉบับที่ต้องการ โดยใช้เมาส์คลิ๊ก หรือลาก Window ครอบ)
Select Object : (เลือกวัตถุที่ต้องการต่อหรือกด Enter เพื่อออกจากการเลือกวัตถุ)
First point of mirror line : (กำหนดจุดเริ่มต้นของแนว Mirror Line)
Second point : (กำหนดจุดสิ้นสุดของแนว Mirror Line)
Delete old object ? <N> : (ต้องการลบวัตถุต้นฉบับหรือไม่ ให้ตอบ Y (Yes) หรือ N (No) )

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

คำสั่ง STRETCH

เป็นคำสั่งสำหรับการยืดวัตถุในทิศทางหนึ่ง ขณะที่ขนาดของวัตถุในอีกทิศทางหนึ่งไม่

เปลี่ยนแปลง





Command : _stretch


Select object to stretch by crossing-windows or –polygon…
Select object : (ลาก Window ครอบวัตถุที่ต้องการยืดและเลือกวัตถุที่เกี่ยวข้องกับการยืดให้Active)
Select object : (เลือกวัตถุ หรือกด Enter เพื่อออกจากการเลือก)
Base point : (กำหนดจุดอ้างอิงในการยืด)
Second point of displacement : (กำหนดจุดที่ต้องการให้วัตถุยืดไป)

คำสั่ง MOVE

คำสั่ง MOVE เป็นคำสั่งสำหรับการเคลื่อนย้ายวัตถุจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง แสดงดังรูป



การใช้คำสั่งจาก Toolbar

Commmand : _move

Select Object : (เลือกวัตถุที่ต้องการเคลื่อนย้าย โดยใช้เมาส์คลิ๊ก หรือลาก Window ครอบ)
Select Object : (เลือกวัตถุที่ต้องการต่อหรือกด Enter เพื่อออกจากการเลือกวัตถุ)
Base point or displacement : (กำหนดพิกัดอ้างอิง (X, Y) หรือใช้เมาส์คลิ๊ก)
Second point of displacement : (กำหนดพิกัดที่ต้องการให้วัตถุ Move ไป)

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

การเขียนเส้น MULTILINE

การเขียนเส้น Multiline จะเป็นการเขียนเส้นที่มีลักษณะ 2 เส้น สามารถกำหนดความกว้างของเส้นได้โดยการกำหนด Scale และคำสั่ง FILL จะไม่มีผลกับการเขียนเส้นด้วยคำสั่งนี้ สำหรับก็คล้าย ๆกับการเขียน LINE

การเขียนจุด (POINT)

ถ้าต้องการเขียนจุดในลักษณะต่าง ๆ ลงในแบบงาน สามารถทำได้โดยการใช้คำสั่ง POINT ดังนี้10.1 การใช้คำสั่งจาก Pull down menu และ Toolbar เลือกคำสั่ง Draw - Point - Single Point ที่ Command Line จะปรากฎดังนี้Command : _point Point : (กำหนดพิกัด หรือคลิ๊ก หรือกด ESC เพื่อออกจากคำสั่ง)การใช้คำสั่งจาก Command Lineให้พิมพ์ดังนี้Command : พิมพ์ Point : (กำหนดพิกัด หรือคลิ๊ก และ AutoCAD จะออกจากคำสั่ง Point โดยอัตโนมัติ )เราสามารถตั้งค่าเกี่ยวกับ Point ได้ โดยเลือกจาก Pull Down Menu ดังนี้Format - Point Style…หลังจากนั้นจะปรากฎ Dialog Box ดังรูป


- ถ้าเลือกที่ Set Size Relative to Screen หมายถึง ให้ขนาดของ Point มีขนาดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ตั้งใน Point Size โดยเป็นอัตราส่วนกับขนาดของหน้าจอ สมมติว่ามีการตั้งไว้ 5 แสดงว่าขนาดของ Pointจะมีขนาด 5 % ของ Drawing Area

 - ถ้าเลือกที่ Set Size in Absolute Units หมายถึง ให้ขนาดของ Point มีขนาดที่แน่นอนตามที่ตั้งใน Point Size สมมติว่าตั้งไว้ 5 แสดงว่าขนาดของ Point จะมีขนาด 5 หน่วย คงที่


วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การสร้างวัตถุด้วยความแม่นยำ(Object Snap and Running Object Snap)

ในการสร้างวัตถุใน AutoCAD บางครั้งอาจจะประสบปัญหา เช่น ต้องการเขียนเส้นจากจุด

ศูนย์กลางของวงกลม ซึ่งแทบจะเป็นไม่ได้เลยว่าผู้เขียนเส้นจะสามารถเขียนให้เริ่มจากจุดศูนย์กลางของวงกลมได้โดยการใช้สายตาเล็ง นี่คือตัวอย่างในหลาย ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นในการเขียนวัตถุใน AutoCADเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการใช้คำสั่ง Object Snap ซึ่งมีให้เลือกหลายตัวเลือก นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว การใช้ Object Snap ยังจะช่วยให้การเขียนแบบรวดเร็วขึ้นด้วย ในการเรียกใช้
Object Snap สามารถเรียกใช้ได้จากหลายลักษณะดังนี้
1. แถบเครื่องมือ (Toolbar)
2. การกด Shift ค้าง และคลิ๊กเมาส์ปุ่มขวา (Shift + Mouse Enter)
3. Command Line



Running Object Snap

 เราสามารถตั้งให้มีการใช้ Object Snap อย่างถาวรได้ โดยไม่ต้องเรียกคำสั่งดังที่ผ่านมา สามารถทำได้โดยการพิมพ์ที่ Command Line ว่า DDOSNAP จะเกิด Dialog Box ดังนี้


หลังจากนั้นให้เลือก Object Snap ที่ต้องการโดยใช้ Mouse คลิ๊กในสี่เหลี่ยมให้เกิดเครื่องหมายถูก / ( ) และถ้าต้องการปรับขนาดของเป้า สามารถทำได้โดย การเลื่อน Scroll Bar ที่ Aperture Size

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

การสร้างวัตถุที่มีความทึบ (SOLID)



การใช้คำสั่ง SOLID

ในบางครั้งเราต้องการเขียนวัตถุที่มีความทึบเราสามารถใช้คำสั่ง SOLID ในการเขียนได้ให้พิมพ์
ทาง Command Line ดังนี้

Command : พิมพ์ SOLID
Command : _solid First point : (ป้อนพิกัดแรกของ Solid หรือคลิ๊ก)
Second point : (ป้อนพิกัดที่สองของ Solid หรือคลิ๊ก)
Third point : (ป้อนพิกัดที่สามของ Solid หรือคลิ๊ก)
Fourth point : (ป้อนพิกัดที่สี่ของ Solid หรือคลี๊ก หรือกด Enter เพื่อออกจากคำสั่ง)

การควบคุมให้รูปที่ได้จาก SOLID มีลักษณะโปร่งหรือทึบสามารถควบคุมได้โดยใช้คำสั่ง FILL โดยการใช้คำสั่งดังนี้
การใช้คำสั่งจาก Pull Down Menu ให้เลือกคำสั่งดังนี้
Tools 􀃖 Drawing Aidsการคลิ๊กจะทำให้เครื่องหมาย / 􀀹หน้าคำว่า Solid Fill หายไป หลังจากนั้นให้พิมพ์ REGEN ที่Command Line เพื่อให้ AutoCAD ทำการคำนวณภาพใหม่ เป็นผลให้รูปที่ทึบจะโปร่งแทน ถ้าต้องการให้Solid ทึบอีกครั้งก็ทำเช่นเดียวกับลำดับขั้นที่ผ่านมา โดยถ้ามีเครื่องหมาย / 􀀹หน้าคำว่า Solid Fill และใช้คำสั่ง REGEN จะทำให้ Solid ที่เราเคยเขียนไว้เป็นรูปทึบ

การรีเจน (Regen)

ในการแสดงผลรูปภาพที่วาดใน AutoCAD มักจะเป็นการแสดงผลที่ต้องการความรวดเร็วดังนั้น

ภาพที่แสดงผลบางภาพอาจจะมีลักษณะที่ไม่ค่อยละเอียดมากนักตัวอย่างเช่น รูปวงกลมเมื่อเราใช้คำสั่ง Zoom เมื่อ Zoom ไปแล้วจะเห็นเส้นโค้งเป็นเหลี่ยม ๆ ไม่ละเอียดเท่าที่ควร เราสามารถใช้คำสั่ง REGEN เพื่อให้ AutoCAD ทำการคำนวณภาพและแสดงผลใหม่จะทำให้ภาพนั้นละเอียดยิ่งขึ้น เราสามารถใช้ คำสั่ง REGEN ทาง Command Line ดังนี้

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วงกลม (CIRCLE)

การเขียนวงกลม (CIRCLE) การใช้คำสั่งจาก Pull down menu และ Toolbar การเขียนวงกลมโดยกำหนดจุดศูนย์กลาง และรัศมี (Circle Center Radius) เลือกคำสั่ง

เขียนเส้น (LINE)

การเขียนเส้น (LINE) การใช้คำสั่งจาก Pull Down menu และ Toolbar เลือกคำสั่งจาก Pull down menu ดังนี้

การซูม (Basic Zoom )

การเปลี่ยนขนาดของมุมมองให้ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงได้ตามที่เราต้องการ โดยที่วัตถุไม่ได้

เปลี่ยนแปลงขนาดแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการได้เปรียบกว่าการเขียนแบบด้วยมือที่การเขียนแบบด้วยมือไม่
สามารถทำได้ การ Zoom มีหลายรูปแบบ ดังนี้

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การตั้งค่า Snap

การตังค่าสแน็ป (Snap)
การตั้งค่าควบคุมการเคลื่อนที่ของเส้นกากบาท(Graphic Cursor) ให้มีระยะการกระโดดตามช่วงระยะที่เราต้องการ ทำให้การเขียนแบบง่ายขึ้น เราสามารถกำหนดให้ ได้ดังนี้


คลิกเมนู Tool > Drafting settings คลิก open snap


ระยะที่เหมาะสม คือ Snap X = 1 หรือ 5
                           Snap Y = 1 หรือ 5

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การกำหนด(Object Snap)

การใช้เครื่องมือช่วยกำหนดตำแหน่ง (Object Snap)

ในการขั้นตอนการขียนแบบเครื่องมือที่ช่วยกำหนดความแม่นยำของตำแหน่ง เรียกว่า Object Snap ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความสดวก รวดเร็วและถูกต้อง มากยิ่งขึ้น การเลือกคำสั่งนี้ขึ้นมาใช้งานสามารถทำได้ดังนี้ ที่เมนูบาร์เลือก Tools - Drafting Setting ดังรูป


















การค่ามุม (Polar Tracking)

การใช้เครื่องมือช่วยบอกพิกัดหรือกำหนดค่ามุม (Polar Tracking)

Polar Spacing เป็นโหมดบอกระยะความยาวและมุมที่ต้องการ ซึ่งการใช้งานต้องเปิด Snap On โดยเข้าไปที่เมนูบาร์เลือก Tools Drafting -Setting -Polar Tracking ดังรูป




วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การตั้งค่า(Grid)

การตั้งค่าระยะห่างของจุด (Grid)
ในการเขียนแบบ 2 มิติด้วยโปรแกรม AutoCAD เมื่อเริ่มเข้าสู่โปรแกรมเราควรเลือกคำสั่งในการใช้งานให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ เช่น การตั้งค่าระยะห่างของจุด (Grid) และระยะของเคอร์เซอร์ (Snap) การใช้ฟังชั่นคีย์ลัดต่างๆ เป็นต้น


Grid คือ จุดที่ปรากฎบนพื้นที่เขียนแบบตามที่กำหนด เมื่อเลือกหน่วยวัดเป็นแบบ Metric โปรแกรมจะกำหนดค่าระยะห่างของจุด (Grid) ในแนวแกน X เท่ากับ 10 หน่วย และแนวแกน Y เท่ากับ 10 หน่วย ซึ่งเหมาะสมกับขอบเขตกระดาษขนาด 420 * 279 ถ้าเลือกหน่วยวัดเป็นแบบ English  จะกำหนดค่าระยะห่างของจุด (Grid) ในแนวแกน X เท่ากับ 5 หน่วย และแนวแกน Y เท่ากับ 5 หน่วย ขอบเขตกระดาษขนาด 12 x 9 ซึ่งโปรแกรมจะกำหนดเป็นค่าเริ่มต้นมาให้ ซึ่งสามารถตั้งค่าได้เองดังนี้ ที่เมนูบาร์เลือก Tools -Drafting Setting

ผลจากการตั้งค่าระยะห่างของจุด (Grid) (X=10, Y=10)

Drawing Limits

การกำหนดขอบเขตการทำงาน


การกำหนดขอบเขตการทำงาน เพื่อให้สามารถรู้ขนาดของงานที่เราเขียนว่ามีพื้นที่ขนาดไหน
มีความพอดีกับขนาดของที่มีอยู่หรือเปล่าการกำหนดขอบเขตการทำงานทำได้โดย ไปที่
Menu Bar เลือก Format เลือกDrawing Limits


ที่ Drawing Limits เป็นการกำหนดขอบเขตการทำงานโดยการใช้ Mouse ตีกรอบครอบพื้นที่การทำงาน บน Display เพื่อกำหนดพื้นที่ในการทำงาน หรือทำการกำหนดจุดเริ่มต้นจาก Coordinate โดยกำหนดเป็นค่า X,Y เช่น จุดเริ่มต้น เท่ากับ 0,0 จุดสิ้นสุดเท่ากับ 420,297 เป็นต้น















ซึ่งกระดาษเขียนแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ ระบบนิ้ว และ ระบบมิลลิเมตร ต่อมาได้ปรับปรุงให้เป็นระบบสากล โดยใช้ระบบ ISO (International System Organization) ซึ่งยอมรับทั้งระบบอเมริกันและยุโรป นอกจากนั้น ประเทศไทยยังได้ผลิตมาตรฐานเป็น (มอก.) โดการเขียนแบบทั่วไปทางเครื่องกลซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับมาตรฐาน ISO 216 ซึ่งมาตรฐานของกระดาษในระบบต่างๆ ได้แสดงไว้ในตาราง


จุดเด่นของมาตรฐาน ISO 216 คือเมื่อนำกระดาษที่มีขนาดตามที่กำหนดไว้มาพับครึ่งขนาดของกระดาษที่พับแล้วยังคงมีสัดส่วน (อัตราส่วนของด้านสูงกับด้านกว้าง) เดียวกับขนาดก่อนพับ และหากพับครึ่งไปอีก ขนาดใหม่ก็ยังคงมีสัดส่วนเดียวกันหมด ประโยชน์ทีได้คือเมื่อนำกระดาษไปตัดแบ่งไปใช้งานตามมาตรฐานนี้ จะไม่เกิดการเสียเศษหากมีงานที่ต้องการย่อส่วน เพื่อให้ได้ผลตามที่หลักการที่กำหนด ได้มีการคำนวณและพบว่าอัตราส่วนความสูงหารด้วยความกว้างจะเท่ากับ สแควร์รูทของสอง (1.4142) และยังพบว่าระยะความกว้าง, ความสูงของขนาดพับครึ่งแล้วจะลดลงเป็น 70.7% จากเดิมเสมอ





วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Clockwise and coordinate

การกำหนดทิศทางการหมุนของมุม

การกำหนดทิศทางการหมุนของมุมว่าให้ไปทางทิศทางที่เราต้องการคือ หมุนตามเข็มนาฬิกาโดยเลือกที่ Clockwise และหมุนทวนเข็มนาฬิกา โดยการยกเลิกการเลือก Clockwiseเราสามารถกำหนดการเริ่มต้นของมุมไปในทิศต่างได้ โดยไปเลือกที่ Direction เช่นถ้าต้องการการวัดมุมให้เริ่มต้นจากทิศตะวันออก ให้เราเลือกที่ East เป็นต้น



วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การตั้งค่า(Units)

การปรับตั้งหน่วยที่ใช้ในการเขียนแบบ (Units)

















เราสามารถเลือกรูปแบบและความระเอียดทั้ง 4 ส่วนเช่นการบอกความยาวและมุมโดยการเปลี่ยนรูปแบบหน่วยวัดระยะ(Length Type) และความละเอียดของจุดทศนิยมความยาว (Length Precision) การกำหนดหน่วยการวัดมุม (Angle Type) และจำนวนทศนิยมของมุม (Angle Precision) รวมทั้งหน่วยวัดกรณีที่มีการแทรก blocks (Drawing units for Design Center blocks) ได้ดังนี้

1. หน่วยวัดระยะ (Length Type)
- Architectural คือการกำหนดหน่วยเป็นนิ้ว ฟุต หรือแบบเศษส่วน

- Decimal คือการกำหนดหน่วยเป็นจุดทศนิยม
- Engineering คือการกำหนดหน่วยเป็นนิ้ว ฟุต หรือจุดทศนิยม
- Fractional คือการกำหนดหน่วยเป็นแบบเศษส่วน
- Scientific คือการกำหนดหน่วยเป็นเลขยกกำลัง

 
 
 
2. ความละเอียดของจุดทศนิยมความยาว (Length Precision) มีให้เลือกทั้งหมด 8 ตำแหน่ง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. การกำหนดหน่วยการวัดมุม (Angle Type)
- Decimal Degrees คือการบอกขนาดมุมเป็นทศนิยม
- Deg/Min/Sec คือการบอกขนาดมุมเป็นแบบองศา/ลิปดา/ฟิลิปดา
- Grads คือการบอกขนาดของระนาบมุมคิดเป็น 1/400 ของวงกลม
- Radians คือการบอกขนาดของมุมบนระนาบสองมิติ
- Surveror’s Units คือการบอกขนาดของมุมของงานสำรวจ


 
 
 
4. การปรับตั้งค่าหน่วยของชิ้นงานที่ใช้ในการเขียนแบบ เช่น มิลลิเมตร เมตร นิ้ว หรือ ฟุต เป็นต้น

 

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คำสั่ง (New)

การสร้างเอกสารใหม่โดยใช้คำสั่ง(New)
ก่อนทำงานทุกครั้งเราควรตั้งค่าคุณสมบัติต่างๆ เช่นการสร้างเอกสารใหม่(New) หน่วยของชิ้นงาน (Units) รูปแบบตัวอักษร (Text Style) เลเยอร์ (Layer) เพื่อให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นNew เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเริ่มต้นเอกสารใหม่ การเลือกคำสั่ง New ขึ้นมาสามารถทำได้ดังรูปด้านซ้ายมือ
   




เมื่อเลือกคำสั่ง New โปรแกรมจะแสดงหน้าต่าง Select Template เราจะเลือก Template ตามที่เครื่องกำหนดมาให้ก็ได้ หรือสามารถเลือกใช้เฉพาะหน่วยวัดในการทำงานซึ่งมี 2 แบบ คือ หน่วยวัดอังกฤษ (imperial) และหน่วยวัดเมตริก (Metric) เราสามารถที่จะเลือกหน่วยที่ใช้ในการทำงานได้ตามที่เราต้องการ ดังรูปด้านขวามือ

AutoCAD Basic


การเริ่มต้นเขียนแบบด้วยโปรแกรม AutoCAD

เมื่อติดตั้งโปรแกรม AutoCAD เรียบร้อยแล้วจะได้ Shortcut icon บน Windows Desktopขั้นตอนเข้าโปรแกรม AutoCAD มีดังนี้ ดับเบิ้ลคลิกที่ไอค่อน AutoCAD  บน Windows Desktop เมื่อเข้าสู่โปรแกรม แล้วจะมีกรอบคำถามคลิกเลือก AutoCAD Classic OK เพื่อเริ่มต้นใช้งานในระบบ 2 มิติ (กรณีต้องการใช้งานแบบ 3 มิติให้เลือก 3D Modeling) จะปรากฎหน้าจอของโปรแกรมดังรูปข้างล่างนี้

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 เมื่อเริ่มต้นเข้าปรแกรมและปรากฏหน้าจอคำถาม Startup ซึ่งมีให้เลือกการใช้งาน 4 ข้อตามรูปด้านซ้ายมือ
- Open a Drawing สำหรับเปิดไฟล์งานเขียนแบบที่มีอยู่แล้ว
- Start from Scratch เมื่อต้องการเริ่มต้นเขียนแบบใหม่ พร้อมระบบหน่วยที่ใช้ในการเขียนแบบ เช่น เลือกหน่วยระบบ Metric ไฟล์ต้นแบบ(Template Drawing) ที่ได้จะเป็น acad.dwt มีขอบเขตในการเขียนแบบเท่ากับ 420x497 มิลลิเมตร และถ้าเลือกหน่วยระบบ English ไฟล์ต้นแบบที่ได้คือ acad.dwt มีขอบเขตในการเขียนแบบเท่ากับ 12x9 นิ้ว ในที่นี้เลือกระบบหน่วย Metric ซึ่งเป็นหน่วยสากล เช่น มิลลิเมตร เซ็นติเมตร (ถ้าเลือก English จะใช้กับงานเขียนแบบที่มีหน่วยเป็นระบบ English เช่น นิ้ว ฟุต)
- Use a Template สำหรับงานเขียนแบบใหม่ที่ต้องการเลือกใช้ไฟล์ต้นแบบที่เรากำหนดเอง
- Use a Wizard เป็นการเปิดไฟล์เขียนแบบใหม่ โดยการเลือก Quick Setup wizard หรือ Advanced Setup wizard

หน้าต่างของโปรแกรม AutoCAD

เมื่อเริ่มต้นโปรแกรม AutoCAD แล้ว จะพบหน้าจอที่มีส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญดังนี้